What's happening?

Video Sources 313 Views Report Error

  • 4Kings (2022) อาชีวะยุค 90s

Synopsis

4Kings (2022) อาชีวะยุค 90s

เรื่องย่อ: จากเหตุการณ์จริงของเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างนักเรียนช่าง 4 4Kings (2022) อาชีวะยุค 90s สถาบัน สู่ภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดบทเรียนชีวิตที่พวกเขาได้พบเจอ เมื่อความคึกคะนองในช่วงวัย สร้างมิตรภาพ และศัตรูมาพร้อมกัน

เป็นอีกโปรเจกต์หนังที่ใช้เวลาเดินทางมาอย่างยาวนานทีเดียวกว่าที่ พุฒิพงษ์ นาคทอง ผู้กำกับที่จบจากวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธารามจะเริ่มไล่ล่าความฝันการเป็นนักสร้างหนัง โดยไต่เต้าจากเด็กกองจนมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับให้กับ ต้อม ยุทธเลิศ สิปปภาค ได้ในที่สุด และเขาก็พกพาเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังมาในสมัยเรียนเขียนออกมาเป็นบทหนังออกเร่หาทุนเป็นเวลาหลายปีจนแทบนึกว่าโครงการจะล่มไปเสียแล้ว แต่ในที่สุดเขาก็ได้มาทำหนังยาวกับค่ายเนรมิตรหนัง ฟิล์ม จำกัด ค่ายหนังไทยหน้าใหม่ที่ดูมีวิสัยทัศน์น่าสนใจทีเดียว ดูหนัง

และอาจด้วยการฝ่าฟันผลักดันความฝันนี้มาอย่างยาวนาน เหมือนว่าเรื่องที่เขาอยากเล่ามันได้ถูกเคี่ยวถูกบ่มจนได้ที่ เค้นเนื้อเน้น ๆ ดีกรีแรงออกมาเป็นหนังเรื่องนี้ ถ้าถามว่าความรู้สึกมันคล้ายหนังเรื่องไหน ก็คงเป็น ‘2499 อันธพาลครองเมือง’ ในแบบฉบับที่จริงจังขึ้น และคมคายสมจริงขึ้นตามยุคสมัย

หนังยังอิงถึง ‘โลกทั้งใบให้นายคนเดียว’ หนังที่มีเด็กช่างเป็นพระเอกเรื่องแรก ๆ ของไทยด้วย
จุดเด่นของหนังคือการได้เด็กช่างตัวจริงที่ไปคลุกวงในเด็กช่างเด็กเทคนิคยุค 90s มาจริง ๆ จนได้วัตถุดิบที่สมจริงมาปรุงการเล่าเรื่อง แต่ละรายละเอียดในหนังเป็นการผสมผสานหลากหลายชีวิตและบทเรียนจากคนมากมายกว่าจะนำมาผูกสร้างเป็นตัวละครแต่ละตัว แม้จะยืนพื้นจากบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงและหลายคนก็ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ทว่าผู้กำกับก็ฉลาดพอที่จะทำให้มันเป็นเรื่องแต่งเพื่อไม่ให้กระทบคนจริง ๆ ที่ว่ามา และในแง่ดีคือมันใส่ลูกขยี้ลูกดราม่าชีวิตบัดซบให้ตัวละครได้มากขึ้นด้วย

4Kings (2022) อาชีวะยุค 90s
ต้องชมอย่างแรกเลยคือ การคัดเลือกนักแสดงมาเล่น ถือว่าดีมาก ๆ ไม่เห็นการคัดแบบเข้าท่าเข้าทางยกทีมยกเรื่องขนาดนี้มานานแล้ว ด้วยจำนวนตัวละครที่ค่อนข้างมากในเรื่อง ทีมสร้างจึงเลือกให้ศูนย์กลางเรื่องราวอยู่ที่ตัวละคร บิลลี่ อินทร ของ จ๋าย ไทยทศมิตร หรือ อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี ที่เป็นเหมือนผู้นำพาผู้ชมไปรู้จักโลกของเขาที่มีเพื่อนสนิท 2 คนคือ ดา อินทร ที่รับบทโดยเป้ อารักษ์ อมรศุภศิริ ที่เป็นตัวละครที่สร้างขึ้นใหม่และเป็นหัวโจกของกลุ่มเพื่อน และอีกคนคือ รูแปง อินทร ที่รับบทโดย ภูมิ ภูมิ รังษีธนานนท์ ซึ่งเป็นตัวแสบในกลุ่มโรงเรียนอินทรอาชีวะ

จริงแล้วชื่อ 4Kings ก็บอกในตัวอยู่แล้วว่ามี 4 สถาบันที่เป็นคู่แค้นกัน แต่เรื่องราวจะเล่าผ่านสายตาฝั่ง อินทรอาชีวะ เป็นหลัก โดยเจาะไปที่คู่ปรับตัวฉกาจอย่าง เทคโนโลยีประชาชล (ซึ่งเพี้ยนชื่อมาจากของจริงคือ เทคโนโลยีประชาชื่น) ที่มีตัวละครนำอย่าง มด ชล หัวโจกของกลุ่ม รับบทโดย โจ๊ก อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ และ โอ๋ ชล ที่เป็นเหมือนมือขวารับบทโดย นัท ณัฏฐ์ กิจจริต หนังฟรี

และจะยังมีอีก 2 สถาบันสุดแสบอย่าง กนกอาชีวะ และช่างกลบุรณพนธ์ เป็นตัวสอดแทรกเข้ามาเป็นระยะ โดยเล่าผ่านตัวนำอย่าง บ่าง กนก ที่รับบทโดย แหลม สมพล รุ่งพาณิชย์ หรือ แหลม 25Hours และ เอก บู รับบทโดย ทู สิราษฎร์ อินทรโชติ ซึ่งหนังฉลาดในการค่อย ๆ พาจากกลุ่มอินทรไปรู้จักกลุ่มอื่น ผ่านตัวละครของบิลลี่ที่มีเหตุให้ต้องเข้าไปร่วมหัวจมท้ายกับ โอ๋ ชล และ เอก บู ในช่วงเวลาหนึ่ง หนังใหม่

และยังฉลาดในการใส่ตัวละครตัวป่วนที่เข้าไปปั่นสถานการณ์ให้วุ่นวายหนักข้อโดยไม่เลือกหน้าอย่างกลุ่มเด็กเจ้าถิ่นที่เรียกว่าเด็กบ้านที่นำแก๊งโดย ยาท เด็กบ้าน รับบทโดย บิ๊ก อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียล หรือ D Gerrard และเมื่อหนังแนะนำตัวละครสำคัญ ๆ ได้ครบ ทั้งยังให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครที่บ้างเป็นศัตรูอยู่ร่วมโลกไม่ได้ บ้างเป็นศัตรูที่ยอมรับให้เกียรติกัน บ้างก็เป็นมิตรที่อยู่คนละขั้วและต้องเลือกอยู่เสมอว่าระหว่างสถาบันกับเพื่อนน้ำหนักสิ่งไหนสูงกว่ากัน ซึ่งทำให้เนื้อหามันมีมิติความซับซ้อนที่ดีพอจะทำให้เกิดสถานการณ์ชวนเอาใจช่วยตัวละครมากมาย

และที่ชอบมากอีกประการคือการสร้างบทสนทนา หนังเรื่องนี้มีบทสนทนาที่ดีมาก ๆ เกิดขึ้นระหว่างความขัดแย้งของตัวละครที่คมคายมาก ๆ ไม่ใช่เพียงระหว่างศัตรู แต่ระหว่างลูกกับพ่อแม่ เพื่อนกับเพื่อน ครูกับศิษย์ คนรักกับคนรัก และแม้ตัวเรื่องมันจะเป็นอะไรที่ดราม่าเชย ๆ แบบที่เราเห็นในหนังสะท้อนสังคมแทบทุกเรื่อง ทว่าบทสนทนาในเรื่องกลับทำให้มันแตกต่างและน่าจดจำอย่างไม่น่าเชื่อ

ที่สำคัญมันไม่ได้แค่ชวนคิดชวนถกเถียงเท่านั้น แต่มันยังเปี่ยมด้วยทัศนคติที่ดี และเป็นผู้ใหญ่ที่ผ่านโลกมามากพอจริง ๆ และสำคัญอย่างยิ่งที่มันไม่ได้ตัดสินตัวละครจากสิ่งที่สังคมให้ค่าเลย ในเรื่องนี้ผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอ เด็กก็อาจมีเหตุผลที่ดีกว่าก็ได้ในมุมมองของเขา อะไรเช่นนี้เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมากในการเป็นหนังสะท้อนสังคมเรื่องหนึ่งในยุคแห่งเหตุและผลเช่นนี้

และแม้จะมีสิ่งดีมากมาย แต่หนังก็มีจุดด้อยสำคัญอยู่ นั่นคือมันไม่ตอบรับความคาดหวังของผู้ชมที่อยากดูหนังบู๊มัน ๆ แรง ๆ แบบลูกผู้ชายตามที่หน้าหนังนำเสนอไว้ได้มากพอ หนังแทบจะตัดส่วนรุนแรงอย่างภาพการตีกันแบบกดข้ามไปเลยด้วยซ้ำ และฉากใหญ่ที่คนรอคาดหวังอย่าง คอนเสิร์ตช็อต ชาร์จ ช็อก ที่เป็นตำนาน ก็แทบไม่คุ้มแก่การรอคอยเท่าไรเลย พอประกอบกับความยาวของหนังที่มากถึง 2 ชั่วโมงครึ่งแบบที่เส้นเรื่องเยอะมาก ใครหวังมาดูหนังแอ็กชันก็น่าจะมีผิดหวังไปพอสมควร แต่ส่วนตัวมองว่าใครที่ดูแล้วเอาข้อด้อยนี้มาตัดสินหนังทั้งเรื่องก็ออกจะใจร้ายไปสักหน่อย เช่นเดียวกับที่ตัวละครในหนังพูดไว้ว่า “เห็นมันเป็นอย่างนั้น ใครทำลงก็เ_ี้ยเกินไปแล้วล่ะ”

และนี่คือสิ่งสำคัญมาก ใครที่กำลังตัดสินใจไปดู ต้องเข้าใจก่อนเลยว่าหนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังแอ็กชันแบบเด็กเกเรตีกันแบบพวกหนังเด็กนักเรียนญี่ปุ่นที่วัยรุ่นกำลังนิยม แต่มันคือหนังดราม่าหนังชีวิตที่เข้มข้นมาก ๆ และความรุนแรงด้านภาพก็ไม่ได้เป็นส่วนสำคัญเลย เพราะความรุนแรงต่ออารมณ์และความรู้สึกผู้ชมนั้นมันสาหัสสากรรจ์กว่ามาก ๆ ต่อให้เป็นผู้ชายแมน ๆ ยังไง คุณก็มีโอกาสโดนสักฉากในหนังที่ทำเอาน้ำตาร่วงได้แน่นอน นี่จึงเป็นหนังอีกเรื่องที่ดูแล้วจะอยากบอกต่อใครสักคนเลยว่า ของมันดีจริง ๆ

4Kings (2022) อาชีวะยุค 90s

4Kings (2022) อาชีวะยุค 90s

แม้ว่าในปีนี้จะมีปริมาณหนังไทยเข้าฉายตามปกติเพียงน้อยนิด ดูทรงแล้วก็เพียงสิบเรื่องนิดๆ แค่นั้น แล้วแต่ละเรื่องก็สร้างออกมาได้เสริมพลังคำสบประมาทและพลอยทำให้ผู้ชมมองในแง่ร้ายกับหนังไทยไปก็เสียเยอะ แต่ดูเหมือนว่าจะมีหนังไทยส่งท้ายปีเรื่องนี้ ที่น่าจะมากอบกู้สถานการณ์ได้ไม่น้อย เพราะนี่คือ “4Kings อาชีวะยุค 90” หนังแอคชั่นดราม่าจัดจ้านที่ตีแผ่ประเด็นนักเรียนตีกัน ที่เข้มข้นกว่าแค่ประเด็นยกพวกตีกันธรรมดาๆ

4Kings อาชีวะยุค 90 เป็นหนังที่ยกประเด็นมาเพื่อสะท้อนสังคมและความจริงอีกมุมของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาสายอาชีพในยุคก่อน ที่ใครๆ ก็มองว่าพวกเขาเป็นตัวสร้างปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและนองเลือก โดยเล่าเรื่องผ่านเด็กอาชีวะจาก 4 สถาบันหลักๆ ได้แก่ อินทร, ประชาชล, บูรณพันธ์ และ กนก ที่พวกเขามันก่อเรื่องจู่โจมกันแทบทุกครั้งที่เจอหน้า แต่ว่าเพราะอะไรจึงกลายเป็นปัญหาเช่นนี้ และนี่คือบทเรียนชีวิตที่พวกเขาเคยก้าวผิด

หนังเรื่องนี้ถือว่าเป็นการเปิดตัวและชิมลางค่ายหนังน้องใหม่ที่เข้ามาเสริมทัพประดับวงการหนังอีกค่าย นั่นก็คือ เนรมิตหนังฟิล์ม ที่ถือว่าเป็นตัวเลือกที่จัดจ้านและเปิดตัวค่ายได้อย่างสง่าไม่เบา เพราะว่า 4Kings กลายเป็นหนังไทยที่สามารถสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับผู้ชมได้ไม่น้อย ทั้งเนื้อหา ทั้งการเล่าเรื่อง ทั้งการแสดง ที่องค์ประกอบต่างๆ ถูกใส่เข้าอย่างได้จังและกลมกล่อมในระดับที่ใช้ได้ นับว่าเป็นหนังไทยที่ให้รสชาติที่อร่อยกำลังพอดี

เราอาจะไม่ได้เคยได้ยินชื่อ “พุฒิพงษ์ นาคทอง” ที่รับหน้าที่เป็นทั้งผู้กำกับและเขียนบทหนังเรื่องนี้ แต่ผลงานชิ้นนี้ได้กลายเป็นมาสเตอร์พีชประดับอาชีพของเขาไปเรียบร้อย ด้วยการใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ ที่ถูกใส่เข้ามาอย่างเหมาะสม การเล่าเรื่องที่อาจจะใช้สูตรสำเร็จเข้ามาช่วยเยอะ แต่ปรากฏว่าเป็นความลงตัวที่้เข้ากับตัวหนังพอดี ดราม่าจัดจ้านที่ไม่ได้รู้สึกยัดเยียดเกินเหตุ หรือฉากต่อสู้ตีกันพัลวันก็อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มากไม่น้อยกำลังพอ

องค์ประกอบต่างๆ ใน 4Kings อาชีวะยุค 90 อาจจะยังไม่ถึงขั้นสมบูรณ์แบบ เพราะยังคงมีช่องว่างและจุดโหว่ปะปนอยู่ตลอดทาง แต่เนื้อหาที่เข้มข้นของหนังก็สามารถช่วยกลบเกลื่อนอุดรอยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จนทำให้ผู้ชมมองข้ามไปในบางจุด โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของหนังนั้น ถือว่าสอบผ่านและทำดีใช้ได้เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการปูเรื่องราวและสร้างมิติให้กับตัวละครต่างๆ

รวมไปทั้งการใส่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เก็บทุกเม็ดของความสภาพสังคมในยุค 90 ที่สัมผัสเห็นได้ถึงงานละเอียดที่ทีมงานและผู้สร้างบรรจงใส่มาทั้งในรูปแบบนามและวัตถุที่้ต้องขอยกนิ้วให้กับการทำการบ้านที่ดีใช้ได้อย่างหนังเรื่องนี้เลย แต่น่าเสียดายที่ในช่วงครึ่งหลังของหนังนั้น ค่อนข้างยืดเยื้อไปนิด ด้วยการใส่นู้นนี่เข้ามามากเกินจำเป็น หากมีการตัดทอนและปรุงแต่งให้กระชับกว่านี้หน่อย ลดไปอีกสัก 10 นาที เชื่อว่าอาจจะดีกว่านี้

และแน่นอนว่าจุดเด่นหลักๆ ของหนังเรื่องนี้คือทีมนักแสดง ที่ต้องยกย่องและยอมใจในการคัดเลือกแคสติ้งชุดนี้เข้ามาประชันบทบาทอย่างถึงพริกถึงขิง ทีมนักแสดงชายของหนัง 4Kings ถือว่าเป็นทีมคุณภาพชุดหนึ่งเลยก็ว่าได้ พวกเขาสามารถขับและบิวต์มิติของตัวละครที่ได้รับเป็นอย่างดี นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่หนังเรื่องนี้สามารถได้นักแสดงที่ถ่ายทอดได้เข้าถึงบทแทบจะทุกตัวละคร

เพียงลำพัง “เป้ อารักษ์” อาจจะไม่สามารถพยุงหนังเรื่องนี้ทั้งเรื่องได้ ถึงแม้ว่าการแสดงของเขาจะไม่ได้แย่เลยก็ตาม แต่กลับได้พลังส่งเสริมที่ดีจากเพื่อนๆ นักแสดงสมทบ ไม่ว่าจะเป็น “ภูมิ รังษีธนานนท์” หรือ “อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี” (จ๋าย ไททศมิตร) โดยเฉพาะรายหลัง ถือว่าเป็นการโชว์ศักยภาพทางการแสดงที่เหนือความคาดหมายเป็นอย่างมาก ดูหนังฟรี

หนังยังมี “โจ๊ก-อัครินทร์ อัครนิธิเมธรัฐ” ที่ไม่ต้องพูดอะไรมาก เพราะเขาเป็นนักแสดงที่เข้าถึงบทบาทกับคาแรกเตอร์แนวนี้ได้ดีอยู่แล้ว และเขาก็ยังเล่นได้ดีตามมาตรฐาน “ทู-สิราษฎร์ อินทรโชติ” ก็สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับคนดูได้ไม่น้อย โดยเฉพาะซีนอารมณ์ที่เล่นได้ดีถึงกับขนลุก แต่คนที่โดดเด่นสุดๆ ก็ต้องยกให้ “ณัฏฐ์ กิจจริต” ที่อินเนอร์แรง แอคติ้งได้ และทุกซีนที่มีเขาอยู่ด้วยนั้น ขับอารมณ์ออกมาได้ดีถึงใจ

และนี่ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่เราสามารถพูดอย่าเต็มปากได้ว่า 4Kings อาชีวะยุค 90 เป็นหนึ่งไทยที่ดีที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของปีนี้ อีกทั้งยังเชื่อเหลือเกินว่า หนังน่าจะมีบทบาทไม่น้อยบนเวทีแจกรางวัลจากสถาบันต่างๆ ในช่วงต้นปีหน้า เพราะอย่างน้อยๆ ทีมนักแสดงของหนังเรื่องนี้ก็คือความโดดเด่นที่ลงตัว เผลอๆ ที่นั่งประจำสาขานักแสดงนำชายและสมทบชายอาจจะถูกจับจองเอาไว้แล้ว

4Kings (2022) อาชีวะยุค 90s
โดยสรุปแล้วนั้น 4Kings อาชีวะยุค 90 ถือว่าเป็นดราม่าแอคชั่นที่น่าจะมาช่วยลบคำสมประมาทและปรับทัศนคติใหม่ให้กับคนไทยที่มีต่อหนังไทยในยุคหลังๆ และนี่คือหนังไทยที่คนไทยอยากจะเห็นแบบนี้บ้าง แม้ว่าจะมานานๆ ครั้ง ถึงแม้ว่าตัวหนังจะไม่ได้สมบูรณ์แบบไปในทุกๆ องค์ประกอบ แต่จุดเด่นจุดดีของหนังก็ยังมีมากกว่าจุดด้อย เชื่อว่าตลอดระยะเวลา 2 ชั่วโมงของหนังเรื่องนี้ คนดูจะคุ้มค่าไปกับการเสพเรื่องราวของพวกเขา… ดูหนังออนไลน์

Director

Director

Cast

Similar titles

Mad Love (1995) ครั้งหนึ่งเมื่อหัวใจกล้าบ้ารัก
Milk ฮาร์วี่ย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก
Lake Placid: Legacy โคตรเคี่ยมบึงนรก 6 (2018) บรรยายไทย
The Angel
The Burning Sea (2021)
CHINA SALESMAN อวสานเซลส์แมนของแท้
Satans Slaves เดี๋ยวแม่ลากไปลงนรก
The Golden Holiday (2020)
Balle perdue (2020) แรงทะลุกระสุน
Final Account ไฟนอลแอคเคาต์ (2020) บรรยายไทย
The Great Escape (1963) แหกค่ายมฤตยู
The Vault (2021)

Leave a comment

Name *
Add a display name
Email *
Your email address will not be published